วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

จอมมารแห่งนรก "ลูซิเฟอร์"

         อัครเทวทูตผู้ยิ่งใหญ่ของสวรรค์ที่ต้องกลับกลายมาเป็นจอมมารแห่งนรกนั่นก็คือ " ลูซิเฟอร์ "
     หลายๆคนอาจจะเคยได้ยินกับชื่อของอดีตเทพตนนี้ แต่จะมีสักกี่คนที่รู้เรื่องราวของเขา วันนี้เราจึงนำเรื่องราวของเขามาให้ทุกคนได้ทำความรู้จัก


     ลูซิเฟอร์

ลูซิเฟอร์
    ลูซิเฟอร์ถือเป็นจอมมารแห่งนรก ที่มีชื่อเสียงค่อนข้างโด่งดังเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ก็เป็นเพราะลูซิเฟอร์ อาจจะมีบทบาทในพระคัมภีร์หลายประการ โดยคำว่าลูซิเฟอร์นั้น เป็นภาษาละติน มีผสมจากคำ 2 คำ ได้แก่ “Lux” ที่หมายถึง แสงสว่าง และ “Ferrer” ที่หมายถึง ผู้นำมาหรือผู้ถือ เมื่อนำเอาทั้งสองคำมารวมกันก็จะมีความหมายว่า “ผู้นำมาซึ่งแสงสว่าง” หรือแปลง่ายๆตามภาษาชาวบ้านว่า “รุ่งอรุณ” หรือ “ดาวแห่งความแสงสว่าง”  ทั้งนี้ก็เพราะ ลูซิเฟอร์เป็นอดีตอัคระเทวทูตที่เป็นผู้ถูกสร้างขึ้นมาจากแสงสว่าง  มีเป็นใหญ่รองลงมาจากพระเป็นเจ้า ซึ่งอาจถือได้ว่า เป็นอัคระเทวทูตที่ยิ่งใหญ่มากที่สุด ณ เวลานั้นเลยก็ได้ แต่ด้วยความหลงในอำนาจที่คิดว่าตนเองยิ่งใหญ่เหนือผู้ใด จึงทำให้ลูซิเฟอร์คิดก่อการกบฏเพื่อหักหลังพระเป็นเจ้า จนท้ายที่สุดก็ถูกลงโทษให้ตกจากสวรรค์ และกลายมาเป็น”ปีศาจ” ในที่สุดจึงถูกมิคาเอลหัวหน้าแห่งเทพขับไล่ลงมาสู่โลกมนุษย์แต่ในฐานะที่เคยเป็นเทพชั้นสูงมาก่อนก็เลยถูกให้เป็นเทพแห่งความตายแทน ลักษณะของเทพลูซิเฟอร์ คือ มี 12 ปีกเรืองแสงได้ เป็นเทพที่มีความสมบูรณ์แบบที่สุดในบรรดาเทพทั้งปวง (แต่รองจากพระเจ้า) 
     ลูซิเฟอร์หรือซาตานเป็นชื่อเดียวกัน แต่เดิมลูซิเฟอร์เป็นทูตสวรรค์ที่พระเจ้าสร้างขึ้นมาให้มาดูแลสวนอีเดนที่มีอดัมและอีวา บุตรที่พระเจ้าสร้างขึ้นมาเป็นคู่แรก บนสวนสวรรค์แห่งนี้ ลูซิเฟอร์มีจิตพิศวาสอีวา ล่อลวงจนอีวากระทำผิดข้อห้าม ตามแรงปรารถนาที่ลูซิเฟอร์เข้าครอบงำ ลูซิเฟอร์พยายามอวดอ้างและเป็นปฎิปักษ์ต่อพระเจ้าอยู่เนื่องๆ ต่อมาทูตสวรรค์นามเซนต์ไมเคิล ได้ต่อสู้กับลูซิเฟอร์จนมีชัย และเนรเทศให้ลงมาอยู่ในนรก พร้อมทั้งเหล่าสาวก คอยครอบงำและนำมาซึ่งความชั่วร้าย ผิดศีลธรรมจรรยา ต่อจิตใจมวลมนุษย์ที่อ่อนแอ ให้คอยต่อต้านพระเจ้าตลอดไป
   เดิมนั้นซาตานหาใช่หัวหน้าปีศาจหรือเจ้าแห่งอสูรกาย อย่าง ในปัจจุบัน แต่คือเทพบุตร ลูซิเฟอร์ เทพบุตรรูปนี้มีรูปร่าง หน้าตางดงามที่สุดในบรรดาทูตสวรรค์ทั้งปวง อีกทั้งยังมี แสงสุกใสเรืองรองออกมาจากร่างจนได้ชื่อว่าเป็น โอรสแห่ง รุ่งอรุณ และเป็นที่โปรดปรานของพระผู้เป็นเจ้ายิ่งนัก
แต่ดูเหมือนว่า ลูซิเฟอร์ จะเป็นเทพประเภทรูปหล่อ เอาแต่ใจ เพราะอยู่มาวันหนึ่ง เมื่อพระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์ขึ้น ลูซิเฟอร์เห็นว่ามนุษย์ที่ส้รางขึ้นมานั้น พระผู้เป็นเจ้าเลียบแบบ หน้าตาจทูติสวรรค์ จึงเกิดความไม่พอใจ กล่าวว่า 

" เมื่อพระองค์ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาให้เหมือนกันพวกหม่อมฉัน ได้ หม่อมฉันนี่แหละจะเป็นผู้ทำลายมันให้ย่อยยับไปกับมือ "

พระผู้เป็นเจ้าได้เห็นธาตุแท้ของเทพบุตรผู้เคยโปรดปราน ก็ขับไล่ลูซิเฟอร์ไปจากสวรรค์ ไปอยู่ในนรก
เปลี่ยนจากเทพบุตรเป็นซาตานเมื่อเทพบุตรถูกขับลงมาอยู่ในนรกจึงเกิดความคลั่งแค้น ตั้งตนเป็นหัวหน้าปีศาจ อสูรกาย เปลี่ยนฐานะจาก "โอรสแห่งรุ่งอรุณ " เป็น " เจ้าชายแห่งความมืดและความชั่วร้าย" นำกองทัพปีศาจบุกไปยังสวรรค์อาละวาด ต่อสู้กับเหล่าเทพบนสวรรค์ผลสรุปท่านเองคงจะพอเดาได้ ระหว่างทั้งสองฝ่าย ผู้เขียนคงไม่อยากโดนรุม ถ้าจะให้ฝ่ายปีศาจชนะฝ่ายธรรมะ ดังนั้นกองทัพปีศาจเลยแพ้ไป

รูปลักษณ์ของซาตาน

สมัยเป็นเทพอยู่บนสวรรค์ ได้ชื่อว่าเป็นเทพบุตรที่มีรูปร่างหน้าตางดงาม จนได้ฉายาว่า "โอรสแห่งรุ่งอรุณ" แต่เมื่อถุกขับไล่ออกมายังนรก ก็มีรูปร่างต่างไปราวฟ้ากับดิน คือ กลายเป็นจอมอสูรกายที่มีปีก เจ้าเล่ห์น่าเกลียด น่ากลัว สุดแท้แต่จิตกรจะวาดให้มันน่ากลัวเพียงไหน แถมบนหัวยังมีเขางอกออกมา ข้างหนึ่งบ้างสองข้างบ้าง ส่วนขา็มีลักษณะคล้ายกับขาของแพะ ปีกทั้งสองข้างดูเหมือนกันค้างคาว หรือค้างคาวผี มีหางงอกออกมายาวเฟื้อย ปลายหางนั้นหยักออกมาเป็นลูกศรแหลมอีกต่างหาก

ว่ากันว่า ลูซิเฟอร์มักจะปรากฏตัวในลักษณะที่เป็นมังกรหรือสิงโต และมีลูกสมุนที่ชื่อว่า Satanackia และ Agalierap  ผู้จงรักภักดีอยู่ข้างกายเสมอ เปรียบเสมือนแขนทั้งสองข้างของลูซิเฟอร์ก็ว่าได้ ส่วนสัญลักษณ์ที่ใช้แทนตัวลูซิเฟอร์ก็จะเป็น กางเขนกลับหัว โดยมีเลขประจำตัวของลูซิเฟอร์หรือเลขแห่งความโชคร้าย  เป็น 666  ซึ่งแตกต่างจากเลขแห่งความโชคดีของพระคริสต์ ที่เป็น 333
สัญลักษณ์ที่ใช้แทนตัวลูซิเฟอร์
สัญลักษณ์ที่ใช้แทนตัวลูซิเฟอร์








ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://conquering.exteen.com/20081119/lucifer-2



วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Languages)

          สวัสดีและยินดีต้อนรับทุกๆท่านที่เข้ามาอ่านและเยี่ยมชมบล๊อกของเรา ไม่มีอะไรมาก วันนี้ก็จะนำเรื่องน่าสนใจ 1 เรื่องมานำเสนอ นั่นก็คือ...

ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Languages)

สำหรับใครที่ยังไม่รู้จักภาษาคอมพิวเตอร์ ก็มาทำความรู้จักกับมันพร้อมๆกันเลยนะคะ

     ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Languages)  คือภาษาที่ใช้ในการติดต่อกับคอมพิวเตอร์โดยถูกนำมาเขียนเป็นชุดคำสั่ง (Program) ให้เครื่องทำงานตามคำสั่งของภาษานั้น ในปัจจุบันภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมมีมากมายหลายภาษา ซึ่งแต่ละภาษาจะมีกฎเกณฑ์และวิธีการเขียนโปรแกรมแตกต่างกัน

     เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง โดยการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานจะต้องป้อนคำสั่งให้กับมัน และต้องเป็นคำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ การนำคำสั่งมาเรียงต่อกันให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งเรียกว่า โปรแกรม เมื่อโปรแกรมถูกป้อนเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวเครื่องจะทำงานทีละคำสั่ง สำหรับการใช้คำสั่งสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานนั้น จะต้องใช้ภาษาที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ เรียกว่า ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งเป็นรหัสเลขฐานสอง เมื่อมีการป้อนภาษานี้เข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ รหัสเลขฐานสองจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ




ประเภทของภาษาคอมพิวเตอร์ แบ่งได้ดังนี้
1. ภาษาในยุคที่ 1 (First Generation Language : 1GL) 
คือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) เป็นภาษาแรกเริ่มที่คอมพิวเตอร์รู้จักและเข้าใจ และสามารถสั่งการด้วยสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วยเลขฐาน 2 คือ 0 และ 1
2. ภาษาในยุคที่ 2 (Second Generation Language : 2GL) 
คือภาษา ที่พัฒนา ขึ้นมาโดยใช้สัญลักษณ์ก็คือ ตัวภาษาอังกฤษเพื่อให้โปรแกรมเมอร์เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นตัวอักษร 1 หรือเป็นกลุ่มอักษร ภาษาที่เกิดขึ้นในยุคนี้คือภาษา Assembly ที่ใช้อักษร A แทนการ Add เป็นต้นโดยคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นมาจะถูกแปลภาษาให้เป็นภาษาเครื่อง
ที่ชื่อว่า Assembler ที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้
3. ภาษาในยุคที่ 3 (Third Generation Language : 3GL) คือ ภาษาระดับสูง เนื่องจากมีการวิวัฒนาการจากภาษาอังกฤษที่นอกจากจะเขียนเป็นคำสั่งได้แล้ว ยังเขียนเป็นประโยค และใกล้เคียงกับ ภาษามนุษย์มากขึ้น และภาษาในยุคนี้ก็จะเป็นแบบ Procedural Language  เนื่องจากต้องมีการระบุรายละเอียดของคำสั่งและการทำงานต่าง ๆ ต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนเป็นบรรทัด ๆ ไป และต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อแปลคำสั่งจาก Source Code ให้เป็น Object Code ที่เครื่องสามารถเข้าใจได้ ตัวอย่างภาษาในยุคนี้ เช่น BASIC, PASCAL, FORTRAN, COBOL, C เป็นต้น
4. ภาษาในยุคที่ 4 (Fourth Generation Language : 4GL)คือ ภาษาในยุคนี้ เป็นภาษาระดับสูงเช่นเดียวกันและมีความโดดเด่นคือการใช้คำสั่งจะมีความคล้ายคลึงกับประโยคภาษาอังกฤษมากขึ้นและ สามารถนำมาใช้เขียนคำสั่งเพื่อเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล ความสามารถด้านกราฟฟิก การติดต่อกับผู้ใช้ (GUI) และความสามารถในการสร้างโค้ด ตัวอย่างภาษาในยุคนี้ได้แก่ SQL (Structured Query Language),C#, Java, ซอฟต์แวร์ในตระกูล Visual ต่างๆ เช่น Visual Basic เป็นต้น
5. ภาษาในยุคที่ 5 (Fifth Generation Language : 5GL) เรียกได้ว่าเป็น ภาษา ธรรมชาติ (Natural Language) เนื่องจากมีความใกล้เคียงกับภาษามนุษย์มากที่สุด ภาษาในยุคนี้สามารถรองรับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เช่น การทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถที่จะเข้าใจคำสั่งจากเสียงพูดและโต้ตอบได้



ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรม
ภาษา BASIC    เป็นภาษาที่ใช้ง่าย และติดตั้งอยู่บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมาก ใช้สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาการเขียนโปรแกรมและผู้ที่เขียนโปรแกรมเป็นงานอดิเรก นิยมใช้ในการเขียนโปรแกรมสั้น ๆ ภาษา BASIC รุ่นแรกใช้ interpreter เป็นตัวแปลภาษา ทำให้เขียนโปรแกรม ทดสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย
ภาษา Pascal    เป็นภาษาระดับสูงที่เอื้ออำนวยให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนโปรแกรมได้อย่างมีโครงสร้าง และเขียนโปรแกรมได้ง่ายกว่าภาษาอื่น นิยมใช้บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาสำหรับการเรียนการสอน และการเขียนโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ
ภาษา C และ C++  ภาษา C ถูกพัฒนาขึ้นโดย ในปีค.ศ. 1972 ที่ห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัท AT&T เป็นภาษาที่ใช้เขียนระบบปฏิบัติการ UNIX ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมคู่กับภาษาซี และมีการใช้งานอยู่ในเครื่องทุกระดับ ภาษา เป็นภาษาระดับสูงที่ได้รับความนิยมในหมู่นักเขียนโปรแกรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากภาษา จะเป็นภาษาที่รวมเอกข้อดีของภาษาระดับสูงในเรื่องของความยืดหยุ่นและไวยากรณ์ที่ง่ายต่อการเข้าใจ
JAVA    ภาษาใหม่ที่มาแรงที่สุดในปัจจุบัน คงจะไม่มีภาษาไหนที่เทียบได้รับภาษาจาวาซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นโดยบริษัทซันไมโครซิสเตมส์ ในปี 1991 โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างผลิตภัณฑ์อิเล็คทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคที่ง่ายต่อการใช้ง่าย มีค่าใช้จ่ายต่ำ ไม่มีข้อผิดพลาด และสามารถใช้กับเครื่องใด ๆ ก็ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นข้อดีของจาวาที่เหนื่อกว่าภาษาอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การที่โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นด้วยจาวาสามารถนำไปใช้กับเครื่องต่าง ๆ โดยไม่ต้องทำการคอมไพล์โปรแกรมใหม่ ทำให้ไม่จำกัดอยู่กับเครื่องหรือโอเอสตัวใดตัวหนึ่ง แม้ว่าการใช้งานจาวาในช่วงแรกจะจำกัดอยู่กับ World Wide Web (WWW) และ Internet แต่ในปัจจุบันได้มีการนำจาวาไปประยุกต์ใช้กับงานด้านซอฟต์แวร์ต่าง ๆ อย่างมากมาย
  
ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับภาษาซีกันนะคะ
      ภาษาซีพัฒนาขึ้นมาในปี ค.ศ. 1970 โดย เดนนิส ริชชี ( Dennis Ritchie ) แห่ง Bell Telephone Laboratories, Inc. (ปัจจุบันคือ AT&T Bell Laboratories ) ซึ่งภาษาซีนั้นมีต้นกำเนิดมาจากภาษา 2 ภาษาคือ ภาษา BCPL คิดค้นโดย มาร์ติน ริชาร์ด (Martin Richard) และภาษา B คิดค้นโดย เคน ทอมป์สัน (Ken Thompson) ซึ่งภาษาทั้งสองต่างก็เป็นภาษาที่พัฒนาขึ้นมาใน Bell Laboratories เช่นกัน เมื่อมีการศึกษาภาษาบีอย่างละเอียดได้พบข้อบกพร่องต่างๆ ของภาษาบี จึงได้มีการพัฒนารูปแบบภาษาบีขึ้นใหม่ให้มีหลักการทำงานที่ดีกว่าเดิม และใช้ชื่อใหม่ว่า ภาษาซี (C language)

         ภาษาซีนั้นถูกใช้งานอยู่เพียงใน Bell Laboratories จนกระทั่งปี ค.ศ. 1978 ไบรอัน เคอร์นิแฮม ( Brian Kernigham ) และริชชี ( Ritchie ) ได้จัดพิมพ์หนังสือชื่อว่า “C Programming Language” ทำให้เป็นที่รู้จักกันในชื่อของ “K&R C” หลังจากที่ตีพิมพ์ข้อกำหนดของ K&R นักคอมพิวเตอร์มืออาชีพรู้สึกประทับใจกับคุณสมบัติที่สนใจของภาษาซี และเริ่มส่งเสริมการใช้งานภาษาซีมากขึ้นในกลางปี ค.ศ. 1980 ภาษาซีก็กลายเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมโดยทั่วไปมีการพัฒนาตัวแปลโปรแกรมพัฒนาโปรแกรมเชิงพาณิชย์เป็นจำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้นโปรแกรมเชิงพาณิชย์ที่เคยพัฒนาขึ้นมาโดยใช้ภาษาอื่น ก็ถูกเขียนขึ้นใหม่โดยใช้ภาษาซี เนื่องจากความต้องการใช้ ความได้เปรียบทางด้านประสิทธิภาพและความสามารถในการเคลื่อนย้ายได้ของภาษาซี ตัวแปลโปรแกรมภาษาซีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาในเชิงพาณิชย์นั้น จะมีความแตกต่างกับข้อกำหนดของ Kernigham และ Ritchie อยู่บ้าง จากจุดนี้เองทำให้เกิดความไม่เข้ากันระหว่างตัวแปลโปรแกรมภาษาซีซึ่งก็ทำให้สูญเสียคุณสมบัติการเคลื่อนย้ายได้ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของภาษา
โครงสร้างภาษาซี

         การเขียนโปรแกรมภาษาซีจะต้องเขียนด้วยอักษรภาษาอังกฤษตัวพิพม์เล็กเสมอ และเมื่อจบประโยคคำสั่งแต่ละคำสั่ง จะใช้เครื่องหมายเซมิโคลอน ( ; ) ในการคั่นคำสั่งแต่ละคำสั่ง มีโครงสร้าง

ส่วนประกอบของโปรแกรมภาษาซีอาจแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้

         1.ส่วนหัวโปรแกรม (Head File ) หรือคอมไพเลอร์ไดเรกทีฟ ( Compiler Directive) เป็นส่วนของโปรแกรมที่ใช้สำหรับเป็นตัวบอกคอมไพเลอร์ว่าให้รวมไฟล์ต่างๆ ที่กำหนดไว้ในส่วนนี้กับตัวโปรแกรมที่เขียนขึ้น โดยต้องเขียนตามรูปแบบที่กำหนดไว้ดังนี้

#include <library>

         เช่น

#include <stdio.h>

#include <conio.h>

เป็นต้น

       ซึ่งถ้าผู้เขียนโปรแกรมอยากรู้ว่าไลบรารี่ที่เรียกให้ใช้งานมีฟังก์ชั่นหรือโพซีเยอร์ใดๆ ให้ใช้งานใดบ้าง เพียงแค่นำเคอร์เซอร์ไปกระพริบให้ตรงกับชื่อของไลบรารี่นั่นแล้ว กด ctrl+f1 ก็จะสามารถดู Help ทั้งหมดไลบรารี่นั้นๆ ได้

        2.ฟังก์ชั่นหลัก ( main Function ) หรือโปรแกรมหลัก ( Main Program ) เป็นส่วนที่ผู้เขียนต้องเขียนขึ้นเองโดยนำเอาคำสั่งหรือฟังก์ชันมาตรฐานต่างๆ มาเรียบเรียงกันขึ้นเป็นโปรแกรมเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล โดยมรโครงสร้างดังนี้

Main()

{


}

Main เป็นฟังก์ชันหลักของโปรแกรม

() ภายในวงเล็บจะเป็นการกำหนดค่าพารามิเตอร์ที่ต้องส่งผ่านไปทำงานยังฟังก์ชันอื่นๆ ถ้าไม่มีการใส่ค่าแสดงว่าไม่ต้องการมีค่าพารามิเตอร์

{ - } ซึ่งภายในเครื่องหมายปีกกาประกอบด้วยคำสั่งต่างๆ ดังนี้

•  ส่วนของการประกาศตัวแปร (Declaration)

•  ส่วนนำข้อมูล (Input)]

•  ส่วนกำหนดค่า / หรือคำนวณ (Assignment or Computation)

•  ส่วนแสดงผลลัพธ์ (Output)

        การหมายเหตุ หรือ Comment เพื่อใช้หมายเหตุหรืออธิบายรายละเอียดของโปรแกรมสามารถเขียนได้ดังนี้

/*ข้อความ*/ คำอธิบายโปรแกรม ใช้ในการอธิบายความหมายของคำสั่งหรือสิ่งที่ต้องการเขียนไว้กันลืมจะไม่มีผลใดๆ กับโปรแกรม แต่การเขียนจะต้องเริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย /* และจบด้วยด้วยเครื่องหมาย */

        3. ฟังก์ชันย่อย (Sub Function) หรือโปรแกรมย่อย (Sub Program) เป็นส่วนที่ผู้เขียนต้องเขียนขึ้นเอง โดยเอาคำสั่งหรือฟังก์ชันมาตรฐานต่างๆ มาเรียบเรียงกันเพื่อให้โปรแกรมหลักหรือฟังก์ชันอื่นๆ สามารถเรียกเพื่อประมวลผลโดยสามารถส่งผ่านค่าพารามอเตอร์ (Pass by Parameter) หรือไม่ผ่านค่าพารามิเตอร์ (Non-Parameter) โดยมีโครงสร้างดังนี้

ชื่อฟังก์ชัน()

{


}
คุณสมบัติของภาษาซี

         - เป็นภาษาที่มีลักษณะเป็นโครสร้างจึงเขียนโปรแกรมง่าย โปรแกรมที่เขียนขึ้นจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง สั่งงานคอมพิวเตอร์ได้รวดเร็วกว่าภาษาระดับสูงอื่นๆ

         - สั่งงานอุปกรณ์ในระดับคอมพิวเตอร์ได้เกือบทุกส่วนของฮาร์ดแวร์ซึ่งภาษาระดับสูงภาษาอื่นทำงานดังกล่าวได้น้อยกว่า

         - คอมไพเลอร์ภาษาซีทุกโปรแกรมในท้องตลาดจะทำงานอ้างอิง มาตรฐาน (ANSI = Ameri-can National Standard's Institute) เกือบทั้งหมด จึงทำให้โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาซีสามารถนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ทุกรุ่นที่มาตรฐาน ANSI รับรอง

         -โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาซีสามารถนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูต่างต่างเบอร์กันได้หรือกล่าวได้ว่าโปรแกรมมีความยืดหยุด (Provability) สูง

         - สามารถนำภาษาซีไปใช้ในการเขียนโปรแกรมประยุกต์ได้หลายระดับ เช่น เขียนโปรแกรมจัดระบบงาน (OS) คอมไพเลอร์ของภาษาอื่น โปรแกรมสื่อสารข้อมูล โปรแกรมจัดฐานข้อมูลโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ (AI = Artificial Intelligent) รวมทั้งโปรแกรมคำนวณงานทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น

         - มีโปรแกรมช่วย (Tool Box) ที่ช่วยในการเขียนโปรแกรมมาก และราคาไม่แพงหาซื้อได้ง่าย เช่น Turbo C, Borland C เป็นต้น

         - สามารถประกาศข้อมูลได้หลายชนิดและหลายรูปแบบ ทำให้สะดวกรวดเร็วต่อการพัฒนาโปรแกรมตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้

         - ประยุกต์ใช้ในงานสื่อสารข้อมูลและงานควบคุมที่ต้องการความแม่นยำในเรื่องเวลา (Real Time Application) ได้กล่าวว่าภาษาระดับสูงอื่นๆ หลายๆ ภาษา

         - สามารถเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP = Object Oriented Programming) ได้ หากใช้ภาษาซีรุ่น Turbo C++ ขึ้นไป ทำให้สามารถพัฒนาโปรแกรมประยุกต์เพื่อใช้งานได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ขอขอบคุณรูปภาพจาก

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Social Network กับนักเรียนและสังคมไทย

     ต้องยอมรับเลยว่า Social Networkได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราทุกคนไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ตื่นนอน เดินทางมาโรงเรียน/มาทำงาน ก่อนนอน เราก็ไม่สามารถตัดขาดจาก Social Networkได้ เรียกได้ว่าเชื่อมต่อกันตลอดเวลาจริง ๆ เมื่อ Social Network เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันไปแล้ว ตื่นเช้ามาจะต้องอัพเดตข่าวสารในทันทีไม่ว่าจะทำอะไร Social Network เหมือนได้หมุนรอบตัวเราอยู่ ทำให้ smart phone กลายเป็นอวัยวะที่ 3 ของร่างกาย


ขอบคุณรูปภาพจาก

Social Network คืออะไร

     โซเชียลเน็ตเวิร์ค หรือ Social Network คือเครือข่ายสังคมออนไลน์  หรือการที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนหนึ่ง เชื่อมโยงกับเพื่อนอีกนับสิบ รวมไปถึงเพื่อนของเพื่อนอีกนับร้อย  ผ่านผู้ให้บริการด้านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) บนอินเตอร์เน็ต เช่น Facebook, Blogger, Hi5, Twitter หรือ Tagged เป็นต้น (บางเว็บไซต์ที่กล่าวถึงในตัวอย่าง ปัจจุบันนี้ได้เสื่อมความนิยมแล้ว)  การเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้เกิดเครือข่ายขึ้น เช่น เราสามารถรู้จักเพื่อนของเพื่อนเราได้  เป็นทอดๆ ต่อไปเรื่อย  ทำให้เกิดสังคมเสมือนจริงขึ้นมา  สามารถสร้างคอนเน็คชั่นใหม่ๆ ได้ง่าย  และเมื่อเราแชร์ (Share) ข้อความหรืออะไรก็ตามลงไปในเครือข่าย  ทุกคนในเครือข่ายก็สามารถรับรู้ได้พร้อมกัน  และสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เราแชร์ได้  เช่น  แสดงความคิดเห็น (Comment)  กดไลค์ (Like) ซึ่งอาจจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละผู้ให้บริการ  ความโดดเด่นในเรื่องความง่ายของโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ทำให้ธุรกิจ และนักการตลาดสนใจที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการ


Social Network กับการศึกษา
     เรื่องต่อมาที่อยากจะนำเสนอคือเรื่อง การใช้ประโยชน์จาก Social Network กับระบบการศึกษาไทย มีความจริงอยู่เรื่องนึงที่เป็นปัญหากับระบอบการศึกษาไทยมาเป็นเวลาช้านาน แล้วก็คือ เด็กไทยไม่กล้าถาม ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ถ้าเป็นอย่างนั้นส่วนตัวคิดว่าน่าจะมีการทดลองนำเอา Twitter มาประยุกต์กับระบบการศึกษาของไทยคงจะดีไม่น้อย หรือการใช้ Social Network เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กไทย การใช้โซเชียลมีเดียในการจัดการเรียนรู้ เป็นการนำเครื่องมือที่มีอยู่บนระบบอินเตอร์เน็ต  มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นสำหรับนักเรียน ทั้งยังเป็นการลดข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ในการเรียนรู้

ข้อดี - ข้อเสีย ของ Social Network
      ในโลกไซเบอร์ก็เหมือนสังคมรอบข้างตัวเรา มีใส่หน้ากาก กัดกันข้างหลัง มีนิสัยดี นิสัยชั่ว มีการสงสัย การระวังคนรอบข้าง มีหมดทุกอย่าง เพราะมันเป็นธรรมดาของโลก แต่เราจะสามารถคัดกรองกลุ่มคนยังไงได้นั้น ก็ต้องใช้สติปัญญาในการวิเคราะห์ หรือพิจารณา คนที่เราคิดว่าน่าจะเป็นคนดี สักวันหนึ่งอาจจะกลับกลายเป็นคนชั่วไปก็เป็นได้ ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่เป็นแน่นอน เพียงแต่เราจะมองโลกในแง่บวก หรือแง่ลบ เท่านั้นเอง เช่นเดียวกับเหรียญที่มี 2 ด้านเสมอก็เฉกเช่นเดียวกับคนที่มีทั้งคนดีและคนชั่ว และใน Social Network ก็เช่นเดียวกัน ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ข้อดีของ Social Network
1.สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้
2.เป็นคลังข้อมูลความรู้ขนาดย่อมเพราะเราสามารถเสนอและแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ หรือตั้งคำถามในเรื่องต่างๆ เพื่อให้บุคคลอื่นที่สนใจหรือมีคำตอบได้ช่วยกันตอบ
3.ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น สะดวกและรวดเร็ว
4.เป็นสื่อในการนำเสนอผลงานของตัวเอง เช่น งานเขียน รูปภาพ วีดิโอต่างๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้ามารับชมและแสดงความคิดเห็น
5.ใช้เป็นสื่อในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือบริการลูกค้าสำหรับบริษัทและองค์กรต่างๆ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า
6.ช่วยสร้างผลงานและรายได้ให้แก่ผู้ใช้งาน เกิดการจ้างงานแบบใหม่ๆ ขึ้น
7.คลายเคลียดได้สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการหาเพื่อนคุยเล่นสนุกๆ
8.สร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากเพื่อนสู่เพื่อนได้

ข้อเสียของ Social Network
1.เว็บไซต์ให้บริการบางแห่งอาจจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป หากผู้ใช้บริการไม่ระมัดระวังในการกรอกข้อมูล อาจถูกผู้ไม่หวังดีนำมาใช้ในทางเสียหาย หรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้
2.Social Network เป็นสังคมออนไลน์ที่กว้าง หากผู้ใช้รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือขาดวิจารณญาณ อาจโดนหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ต หรือการนัดเจอกันเพื่อจุดประสงค์ร้าย ตามที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์
3.เป็นช่องทางในการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ขโมยผลงาน หรือถูกแอบอ้าง เพราะ Social Network Service เป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงาน รูปภาพต่างๆ ของเราให้บุคคลอื่นได้ดูและแสดงความคิดเห็น
4.ข้อมูลที่ต้องกรอกเพื่อสมัครสมาชิกและแสดงบนเว็บไซต์ในรูปแบบ Social Network ยากแก่การตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ ดังนั้นอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่กำหนดอายุการสมัครสมาชิก หรือการถูกหลอกโดยบุคคลที่ไม่มีตัวตนได้
5.ผู้ใช้ที่เล่น social  network และอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจสายตาเสียได้หรือบางคนอาจตาบอดได้      
6.ถ้าผู้ใช้หมกหมุ่นอยู่กับ social  network มากเกินไปอาจทำให้เสียการเรียนหรือผลการเรียนตกต่ำลงได้
จะทำให้เสียเวลาถ้าผู้ใช้ใช้อย่างไร้ประโยชน์ 






ขอขอบคุณข้อมูลจาก:



วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช




ประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    สมเด็จพระนเรศวรมหาราชหรือที่ชาวบ้านทั่วไปในครั้งนั้นเรียกว่า พระองค์ดำ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตริย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2098 ที่พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลกทรงมีพระเชษฐภคิณีคือ พระสุพรรณกัลยา ทรงมีพระอนุชาคือ สมเด็จพระเอกาทศรถ (องค์ขาว) และทรงเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย  ตลอดระยะเวลาในทรงพระเยาว์ของพระนเรศวรทรงใช้ชีวิตอยู่ในพระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก จนกระทั่งเมื่อพระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลก สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าเมืองพิษณุโลกยอมอ่อนน้อมต่อแห่งหงสาวดี และทำให้พิษณุโลกต้องแปรสภาพเป็นเมืองประเทศราชหงสาวดีไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าบุเรงนองได้ทรงขอพระนเรศวรไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดี ทำให้พระองค์ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนตั้งแต่มีพระชนม์มายุเพียง 9 พรรษ หลังจากที่พระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาแตก เมื่อ พ.ศ. 2112 มะเส็งศก วันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๑๑ ค่ำ และได้สถาปนาสมเด็จพระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะประเทศราชของหง สาวดีต่อไป หลังจากนั้น พระนเรศวรได้หนีกลับมาไทยโดยที่บุเรงนองยินยอมด้วยอันเนื่องมาจากพระสุพรรณ กัลยาได้ขอไว้ หลังจากที่พระองค์ดำกลับมากรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ทรงพระราชทานนามให้ว่า "พระนเรศวร" และโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระมหาอุปราชไปปกครองเมืองพิษณุโลก ทรงปกครองเมืองอย่างดีและทรงเริ่มเตรียมการที่จะกอบกู้เอกราชของกรุงศรีอยุธยา
     
ประกาศอิสรภาพ
     เมื่อปี พ.ศ. 2126 พระเจ้าอังวะเป็นกบฎ เนื่องจากไม่พอใจทางกรุงหงสาวดีอยู่หลายประการ จึงแข็งเมืองพร้อมกับเกลี้ยกล่อมเจ้าไทยใหญ่อีกหลายเมืองให้แข็งเมืองด้วย พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงยกทัพหลวงไปปราบ ในการณ์นี้ได้สั่งให้เจ้าเมืองแปรเจ้าเมืองตองอูและเจ้าเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งทางกรุงศรีอยุธยาด้วย ให้ยกทัพไปช่วยทางไทย สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดให้สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปแทน สมเด็จพระนเรศวรยกทัพออกจากเมืองพิษณุโลก เมื่อวันแรม 6 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม พ.ศ. 2126 พระองค์ยกทัพไทยไปช้า ๆ เพื่อให้การปราบปรามเจ้าอังวะเสร็จสิ้นไปก่อน ทำให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงแคลงใจว่า ทางไทยคงจะถูกพระเจ้าอังวะชักชวนให้เข้าด้วย จึงสั่งให้พระมหาอุปราชาคุมทัพรักษากรุงหงสาวดีไว้ถ้าทัพไทยยกมาถึงก็ให้ ต้อนรับและหาทางกำจัดเสีย และพระองค์ได้สั่งให้พระยามอญสองคน คือ พระยาเกียรติและพระยาราม ซึ่งมีสมัครพรรคพวกอยู่ที่เมืองแครงมาก และทำนองจะเป็นผู้คุ้นเคยกับสมเด็จพระนเรศวรมาแต่ก่อน ลงมาคอยต้อนรับทัพไทยที่เมืองแครง อันเป็นชายแดนติดต่อกับไทย พระมหาอุปราชาได้ตรัสสั่งเป็นความลับว่า เมื่อสมเด็จพระนเรศวรยกกองทัพขึ้นไป ถ้าพระมหาอุปราชายกเข้าตีด้านหน้าเมื่อใด ให้พระยาเกียรติและพระยารามคุมกำลังเข้าตีกระหนาบทางด้านหลัง ช่วยกันกำจัดสมเด็จพระนเรศวรเสียให้จงได้ พระยาเกียรติกับพระยารามเมื่อไปถึงเมืองแครงแล้วได้ขยายความลับนี้แก่พระมหา เถรคันฉ่องผู้เป็นอาจารย์ของตน ทุกคนไม่มีใครเห็นดีด้วยกับแผนการของพระเจ้ากรุงหงสาวดี เพราะมหาเถรคันฉ่องกับสมเด็จพระนเรศวรเคยรู้จักชอบพอกันมาก่อน กองทัพไทยยกมาถึงเมืองแครง เมื่อวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก พ.ศ. 2127 โดยใช้เวลาเดินทัพเกือบสองเดือน กองทัพไทยตั้งทัพอยู่นอกเมือง เจ้าเมืองแครงพร้อมทั้งพระยาเกียรติกับพระยารามได้มาเฝ้าฯ สมเด็จพระนเรศวร จากนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหาเถรคันฉ่องซึ่งคุ้นเคยกันดีมา ก่อน พระมหาเถรคันฉ่องมีใจสงสารจึงกราบทูลถึงเรื่องการคิดร้ายของทางกรุงหงสาวดี แล้วให้พระยาเกียรติกับพระยารามกราบทูลให้ทราบตามความเป็นจริง เมื่อพระองค์ได้ทราบความโดยตลอดแล้ว ก็ทรงมีพระราชดำริเห็นว่าการเป็นอริราชศัตรูกับกรุงหงสาวดีนั้น ถึงกาลเวลาที่จะต้องเปิดเผยต่อไปแล้ว จึงได้มีรับสั่งให้เรียกประชุมแม่ทัพนายกอง กรมการเมือง เจ้าเมืองแครงรวมทั้งพระยาเกียรติพระยารามและทหารมอญมาประชุมพร้อมกัน แล้วนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องและพระสงฆ์มาเป็นสักขีพยาน ทรงแจ้งเรื่องให้คนทั้งปวงที่มาชุมนุม ณ ที่นั้นทราบว่า พระเจ้าหงสาวดีคิดประทุษร้ายต่อพระองค์ จากนั้นพระองค์ได้ทรงหลั่งน้ำลงสู่แผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร (พระน้ำเต้าทองคำ) ประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินว่า "ด้วยพระเจ้าหงสาวดี มิได้อยู่ในครองสุจริตมิตรภาพขัตติยราชประเพณี เสียสามัคคีรสธรรม ประพฤติพาลทุจริต คิดจะทำอันตรายแก่เรา ตั้งแต่นี้ไป กรุงศรีอยุธยาขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดีมิได้เป็นมิตรร่วมสุวรรณปฐพีเดียวกัน ดุจดังแต่ก่อนสืบไป"

ยุทธหัตถี

  นับตั้งแต่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพเป็นต้นมา หงสาวดีได้เพียรส่งกองทัพเข้ามาหลายครั้ง แต่ก็ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาตีแตกพ่ายไปทุกครั้ง เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๓ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓ เมื่อพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวร หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ และโปรดเกล้า ฯ ให้พระเอกาทศรถ พระอนุชา ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช แต่มีศักดิ์เสมอพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่งตลอดรัชสมัยของพระองค์ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากหงสาวดี และได้ทำสงครามกับอริราชศัตรูทั้งพม่าและเขมร จนราชอาณาจักรไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคง ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาลกว่าครั้งใดในอดีตที่ผ่านมา งานสงครามในรัชสมัยของพระองค์ ทั้งในดินแดนไทยและดินแดนข้าศึก ได้ชัยชนะทุกครั้ง ทรงมีพระปรีชาสามารถในการนำทัพ ทรงริเริ่มนำยุทธวิธีแบบใหม่มาใช้ในการทำสงคราม และเปลี่ยนแนวความคิดจากการตั้งรับมาเป็นการรุก และริเริ่มการใช้วิธีรบนอกแบบการสงครามกับพม่าครั้งสำคัญที่ทำให้พม่าไม่กล้ายกทัพมารุกรานไทยอีกเลย เป็นเวลาเกือบสองร้อยปีคือ สงครามยุทธหัตถี เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๕ นั่นคือเมื่อหงสาวดีนำโดยพระมหาอุปราชามังสามเกียดยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง สมเด็จพระนเรศวรก็นำทัพออกไปจนปะทะกันที่หนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี บ้างก็ว่าจังหวัดกาญจนบุรี สมเด็จพระนเรศวรได้ทรง

กระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาจนกระทั่งสามารถเอาพระแสงง้าวฟันพระมหาอุปราชาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่กับคอช้างนั่นเอง



สวรรคต

  พ.ศ. ๒๑๓๗ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงก็ให้พระเจ้าแปรมาตีกรุงศรีอยุธยาแต่ก็แตกทัพกลับไป พ.ศ. ๒๑๔๒ เสด็จฯออกไปตีกรุงหงสาวดี พระเจ้าหงสาวดีหนีไปเมืองตองอู กองทัพอยุธยาตามไปถึงเมืองตองอูแต่ขาดเสบียง พ.ศ. ๒๑๔๗ ยกกองทัพหลวง ๑๐๐,๐๐๐ นายออกจากกรุงศรีอยุธยาไปตีกรุงอังวะ ผ่านทางเมืองเชียงใหม่ โดยแรมทัพอยู่ที่เมืองเชียงใหม่เป็นเวลา ๑ เดือน ระดมทหารในดินแดนล้านนาสมทบอีก ๑๐๐,๐๐๐ นาย และทรงมอบหมายให้สมเด็จพระเอกาทศรถเป็นทัพหน้าออกเดินทางไปรับไพร่พลทหารล้านนาที่เมืองฝาง (อำเภอฝาง เชียงใหม่) หลังจากนั้นกองทัพหลวงจึงกรีฑาทัพออกจากเมืองเชียงใหม่ไปยัง เมืองนายและกรุงอังวะ ครั้นกองทัพหลวงเดินทัพอยู่ระหว่างเมืองเชียงใหม่กับแม่น้ำสาละวิน ครั้นถึง เมืองหลวง หรือเมืองห้างหลวง หรือเมืองห่างหลวง หรือเมืองหางหลวง อันเป็นเมืองขึ้นของเมืองเชียงใหม่และเป็นเมืองอยู่ชายพระราชอาณาเขตในสมัยนั้น เมื่อปลายเดือน
๕ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๑๔๘ ได้เสด็จฯ ประทับแรมอยู่ ณ ตำบลทุ่งดอนแก้ว (ขณะที่กองทัพสมเด็จพระเอกาทศรถอยู่ที่เมืองฝางหรืออำเภอฝาง เชียงใหม่) เกิดประชวรเป็นหัวระลอกขึ้น(บ้างว่าถูกตัวสัตว์พวกแมลงมีพิษต่อย) ที่พระพักตร์แล้วเลยเป็นบาดพิษจนเสด็จสวรรคต ณ เมืองห้างหลวง หรือ เมืองหางวันจันทร์ เดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำ พ.ศ. ๒๑๔๘ เรื่องวันสวรรคตนี้มีรายละเอียดกล่าวต่างกัน พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวว่า เสด็จสวรรคตวันจันทร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ เพลาชายแล้ว ๒ บาท ปีมะเส็ง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์คำนวณแล้วตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๑๔๘ ในหนังสือ A History of Siam ของ W.A.R. Wood กล่าวว่าสวรรคตวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ค.ศ.

๑๖๐๕ (พ.ศ. ๒๑๔๘) พระชันษาได้ ๕๐ ปี เสวยราชสมบัติได้ ๑๕ ปี

พระราชกรณียกิจ

พ.ศ. 2113 เสด็จออกร่วมรบกับทหารโดยขับไล่กองทัพเขมรได้สำเร็จ
พ.ศ. 2114 ได้รับสถาปนาให้ปกครองเมืองพิษณุโลก เมื่อพระชนมายุ ๑๖ พรรษา
พ.ศ. 2117 เสด็จไปรบที่เวียงจันทน์ เผอิญทรงประชวรเป็นไข้ทรพิษจึงเสด็จกลับ
พ.ศ. 2121 ทรงทำสงครามขับไล่พระยาจีนจันตุออกไปจากกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 2127 ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง และกวาดต้อนคนไทยกลับพระนคร
พ.ศ. 2127-พ.ศ. 2130 พม่ายกกองทัพมาตีไทยถึง ๔ ครั้ง แต่ถูกไทยตีแตกพ่ายกลับไป
พ.ศ. 2133 ทรงเสด็จครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยาเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา
พ.ศ. 2135 ทรงทำสงครามยุทธหัตถี จนมังกะยอชวา สิ้นพระชนม์
พ.ศ. 2136 ทรงยกกองทัพไปตีเขมรและจับพระยาละแวกทำพิธีปฐมกรรม
พ.ศ. 2138 และ พ.ศ. 2141 ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงหงสาวดี ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒
พ.ศ. 2148 ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงอังวะ โดยยกทัพหลวง ๑๐๐,๐๐๐ นาย ออกจากอยุธยา ไปทางเมืองเชียงใหม่ และแรมทัพในเชียงใหม่ ๑ เดือน เพื่อรอการระดมทหารล้านนา
เข้าสมทบอีก ๑๐๐,๐๐๐ คนเมื่อยกทัพหลวงออกจากเมืองเชียงใหม่ มุ่งหน้าไปยัง เมืองนาย ครั้นกรีฑาทัพช่วงระหว่างเมืองเชียงใหม่กับแม่น้ำสาละวิน และไปถึงเมืองหลวง หรือเมืองห้าง
หลวง หรือเมืองห่างหลวง หรือเมืองหางหลวง ก็ทรงพระประชวรโดยเร็วพลัน เป็นหัวระลอกขึ้นที่พระพักตร์ และเสด็จสวรรคต ณ เมืองหลวง ตำบลทุ่งดอนแก้ว ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำ
เดือน ๖ ปีมะเส็ง ซึ่งตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๑๔๘ พระชนมายุ ๕๐ พรรษา ครองราชย์สมบัติได้ ๑๕ ปี



ขอบคุณข้อมูลจาก

ขอบคุณรูปภาพจาก


วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวันของนักเรียน

     เทคโนโลยีในปัจจุบันมีความสำคัญในชีวิตประจำวันของคนเรามาก  ไอทีคือเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยและอำนายความสะดวกในด้านต่างๆเช่นโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ แล้วนำมาประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัย  ในยุคสมัยนี้คอมพิวเตอร์กำลังถูกนำมาประยุกต์ใช้กับงานด้านต่างๆกันอย่างกว้างขวางเช่นทุกวันนี้  การที่เราจะบรรยายหรือนำเสนอเรื่องราวต่างๆโดยอาศัยการพูดหรือการเขียนกระดานอย่างเดียวนั้น  คงจะเป็นเรื่องที่ล้าสมัยและน่าเบื่อเอามากๆเนื่องจากในปัจจุบันนี้  เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันอยู่ มีความสามารถในการแสดงภาพ เสียง และข้อความ ต่างๆประสานสอดคล้องกันเป็นอย่างดี 




ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
  ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมและที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ เช่น พิมพ์รายงาน จดหมาย เอกสารต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น

1. งานธุรกิจ บริษัท ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า รวมไปถึงโรงงานต่าง ๆ ซึ่งจะใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และใช้ติดต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้ในงานอุตสาหกรรม จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการผลิต 
2. งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข เราสามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน งานศึกษาโมเลกุลเคมี หรืองานทะเบียน สถิติ และนอกจากนี้เรายังนำคอมพิวเตอร์ไปเป็นอุปกรณ์ในการตรวจรักษาโรค ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำและยังทำให้การรักษาเป็นไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

3. งานคมนาคมและสื่อสาร  เรานำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ควบคุมระบบการจราจร

4. งานราชการ  การใช้งานในหน่วยงานราชการนั้นมีหลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้น ๆ 

5. งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม  สถาปนิกและวิศวกรจะใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ 

6. การศึกษา เราจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ทางด้านการเรียนการสอน หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งจะทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด เป็นต้น



โทษของคอมพิวเตอร์

  นอกจากประโยชน์อย่างมากของคอมพิวเตอร์แล้ว  ถ้าไม่ระมัดระวังในการใช้งานคอมพิวเตอร์ก็เกิดโทษขึ้นได้ เช่น


1.ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย

 การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร  ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเห็นตัว  ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลง 


2.ทำให้เกิดการเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ

 ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล เช่น ข้อมูลลูกหนี้การค้า ข้อมูลสินค้าและบริการต่างๆ หากเกิดการสูญหายของข้อมูล ย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง

 3.ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว เช่น การใช้งานอินเทอร์เน็ตมีผู้สร้างโฮมเพจหรือสร้างข้อมูลข่าวสารในเรื่องภาพที่ไม่เหมาะสม

 4.ทำให้ข้อมูลหรือโปรแกรมถูกทำลายได้ง่าย เช่น  อาจจะถูกทำลายด้วยไวรัสซึ่ง สามารถแพร่ไปยังระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์





ขอบคุณข้อมูลจาก
ข้อมูลจาก คณะบริหารธุรกิจ ภาคภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


ขอบคุณภาพจาก