ประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชหรือที่ชาวบ้านทั่วไปในครั้งนั้นเรียกว่า
พระองค์ดำ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตริย์
(พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ)
เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2098 ที่พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลกทรงมีพระเชษฐภคิณีคือ
พระสุพรรณกัลยา ทรงมีพระอนุชาคือ สมเด็จพระเอกาทศรถ (องค์ขาว)
และทรงเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ตลอดระยะเวลาในทรงพระเยาว์ของพระนเรศวรทรงใช้ชีวิตอยู่ในพระราชวังจันทน์
เมืองพิษณุโลก จนกระทั่งเมื่อพระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลก
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าเมืองพิษณุโลกยอมอ่อนน้อมต่อแห่งหงสาวดี
และทำให้พิษณุโลกต้องแปรสภาพเป็นเมืองประเทศราชหงสาวดีไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา
พระเจ้าบุเรงนองได้ทรงขอพระนเรศวรไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดี
ทำให้พระองค์ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนตั้งแต่มีพระชนม์มายุเพียง 9 พรรษา หลังจากที่พระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาแตก
เมื่อ พ.ศ. 2112 มะเส็งศก วันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๑๑ ค่ำ และได้สถาปนาสมเด็จพระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะประเทศราชของหง
สาวดีต่อไป หลังจากนั้น
พระนเรศวรได้หนีกลับมาไทยโดยที่บุเรงนองยินยอมด้วยอันเนื่องมาจากพระสุพรรณ
กัลยาได้ขอไว้ หลังจากที่พระองค์ดำกลับมากรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ทรงพระราชทานนามให้ว่า "พระนเรศวร" และโปรดเกล้าฯ
ให้เป็นพระมหาอุปราชไปปกครองเมืองพิษณุโลก
ทรงปกครองเมืองอย่างดีและทรงเริ่มเตรียมการที่จะกอบกู้เอกราชของกรุงศรีอยุธยา
ประกาศอิสรภาพ
เมื่อปี พ.ศ. 2126
พระเจ้าอังวะเป็นกบฎ เนื่องจากไม่พอใจทางกรุงหงสาวดีอยู่หลายประการ
จึงแข็งเมืองพร้อมกับเกลี้ยกล่อมเจ้าไทยใหญ่อีกหลายเมืองให้แข็งเมืองด้วย
พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงยกทัพหลวงไปปราบ
ในการณ์นี้ได้สั่งให้เจ้าเมืองแปรเจ้าเมืองตองอูและเจ้าเมืองเชียงใหม่
รวมทั้งทางกรุงศรีอยุธยาด้วย ให้ยกทัพไปช่วยทางไทย
สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดให้สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปแทน สมเด็จพระนเรศวรยกทัพออกจากเมืองพิษณุโลก
เมื่อวันแรม 6 ค่ำ เดือน 3
ปีมะแม พ.ศ. 2126 พระองค์ยกทัพไทยไปช้า ๆ
เพื่อให้การปราบปรามเจ้าอังวะเสร็จสิ้นไปก่อน ทำให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงแคลงใจว่า
ทางไทยคงจะถูกพระเจ้าอังวะชักชวนให้เข้าด้วย
จึงสั่งให้พระมหาอุปราชาคุมทัพรักษากรุงหงสาวดีไว้ถ้าทัพไทยยกมาถึงก็ให้
ต้อนรับและหาทางกำจัดเสีย และพระองค์ได้สั่งให้พระยามอญสองคน คือ
พระยาเกียรติและพระยาราม ซึ่งมีสมัครพรรคพวกอยู่ที่เมืองแครงมาก และทำนองจะเป็นผู้คุ้นเคยกับสมเด็จพระนเรศวรมาแต่ก่อน
ลงมาคอยต้อนรับทัพไทยที่เมืองแครง อันเป็นชายแดนติดต่อกับไทย
พระมหาอุปราชาได้ตรัสสั่งเป็นความลับว่า เมื่อสมเด็จพระนเรศวรยกกองทัพขึ้นไป
ถ้าพระมหาอุปราชายกเข้าตีด้านหน้าเมื่อใด ให้พระยาเกียรติและพระยารามคุมกำลังเข้าตีกระหนาบทางด้านหลัง
ช่วยกันกำจัดสมเด็จพระนเรศวรเสียให้จงได้
พระยาเกียรติกับพระยารามเมื่อไปถึงเมืองแครงแล้วได้ขยายความลับนี้แก่พระมหา
เถรคันฉ่องผู้เป็นอาจารย์ของตน
ทุกคนไม่มีใครเห็นดีด้วยกับแผนการของพระเจ้ากรุงหงสาวดี
เพราะมหาเถรคันฉ่องกับสมเด็จพระนเรศวรเคยรู้จักชอบพอกันมาก่อน กองทัพไทยยกมาถึงเมืองแครง เมื่อวันขึ้น 1
ค่ำ เดือน 6 ปีวอก พ.ศ. 2127 โดยใช้เวลาเดินทัพเกือบสองเดือน
กองทัพไทยตั้งทัพอยู่นอกเมือง
เจ้าเมืองแครงพร้อมทั้งพระยาเกียรติกับพระยารามได้มาเฝ้าฯ สมเด็จพระนเรศวร
จากนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหาเถรคันฉ่องซึ่งคุ้นเคยกันดีมา ก่อน
พระมหาเถรคันฉ่องมีใจสงสารจึงกราบทูลถึงเรื่องการคิดร้ายของทางกรุงหงสาวดี
แล้วให้พระยาเกียรติกับพระยารามกราบทูลให้ทราบตามความเป็นจริง
เมื่อพระองค์ได้ทราบความโดยตลอดแล้ว ก็ทรงมีพระราชดำริเห็นว่าการเป็นอริราชศัตรูกับกรุงหงสาวดีนั้น
ถึงกาลเวลาที่จะต้องเปิดเผยต่อไปแล้ว จึงได้มีรับสั่งให้เรียกประชุมแม่ทัพนายกอง
กรมการเมือง เจ้าเมืองแครงรวมทั้งพระยาเกียรติพระยารามและทหารมอญมาประชุมพร้อมกัน
แล้วนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องและพระสงฆ์มาเป็นสักขีพยาน ทรงแจ้งเรื่องให้คนทั้งปวงที่มาชุมนุม
ณ ที่นั้นทราบว่า พระเจ้าหงสาวดีคิดประทุษร้ายต่อพระองค์
จากนั้นพระองค์ได้ทรงหลั่งน้ำลงสู่แผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร (พระน้ำเต้าทองคำ)
ประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินว่า "ด้วยพระเจ้าหงสาวดี
มิได้อยู่ในครองสุจริตมิตรภาพขัตติยราชประเพณี เสียสามัคคีรสธรรม ประพฤติพาลทุจริต
คิดจะทำอันตรายแก่เรา ตั้งแต่นี้ไป
กรุงศรีอยุธยาขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดีมิได้เป็นมิตรร่วมสุวรรณปฐพีเดียวกัน
ดุจดังแต่ก่อนสืบไป"
ยุทธหัตถี
นับตั้งแต่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพเป็นต้นมา
หงสาวดีได้เพียรส่งกองทัพเข้ามาหลายครั้ง
แต่ก็ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาตีแตกพ่ายไปทุกครั้ง เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๓
พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓
เมื่อพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวร
หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ และโปรดเกล้า ฯ ให้พระเอกาทศรถ พระอนุชา
ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช
แต่มีศักดิ์เสมอพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่งตลอดรัชสมัยของพระองค์ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากหงสาวดี
และได้ทำสงครามกับอริราชศัตรูทั้งพม่าและเขมร จนราชอาณาจักรไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคง
ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาลกว่าครั้งใดในอดีตที่ผ่านมา
งานสงครามในรัชสมัยของพระองค์ ทั้งในดินแดนไทยและดินแดนข้าศึก ได้ชัยชนะทุกครั้ง
ทรงมีพระปรีชาสามารถในการนำทัพ ทรงริเริ่มนำยุทธวิธีแบบใหม่มาใช้ในการทำสงคราม
และเปลี่ยนแนวความคิดจากการตั้งรับมาเป็นการรุก
และริเริ่มการใช้วิธีรบนอกแบบการสงครามกับพม่าครั้งสำคัญที่ทำให้พม่าไม่กล้ายกทัพมารุกรานไทยอีกเลย
เป็นเวลาเกือบสองร้อยปีคือ สงครามยุทธหัตถี เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๕ นั่นคือเมื่อหงสาวดีนำโดยพระมหาอุปราชามังสามเกียดยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง
สมเด็จพระนเรศวรก็นำทัพออกไปจนปะทะกันที่หนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี
บ้างก็ว่าจังหวัดกาญจนบุรี สมเด็จพระนเรศวรได้ทรง
กระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาจนกระทั่งสามารถเอาพระแสงง้าวฟันพระมหาอุปราชาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่กับคอช้างนั่นเอง
สวรรคต
พ.ศ. ๒๑๓๗
พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงก็ให้พระเจ้าแปรมาตีกรุงศรีอยุธยาแต่ก็แตกทัพกลับไป พ.ศ.
๒๑๔๒ เสด็จฯออกไปตีกรุงหงสาวดี พระเจ้าหงสาวดีหนีไปเมืองตองอู กองทัพอยุธยาตามไปถึงเมืองตองอูแต่ขาดเสบียง พ.ศ.
๒๑๔๗ ยกกองทัพหลวง ๑๐๐,๐๐๐
นายออกจากกรุงศรีอยุธยาไปตีกรุงอังวะ ผ่านทางเมืองเชียงใหม่ โดยแรมทัพอยู่ที่เมืองเชียงใหม่เป็นเวลา ๑ เดือน
ระดมทหารในดินแดนล้านนาสมทบอีก ๑๐๐,๐๐๐
นาย
และทรงมอบหมายให้สมเด็จพระเอกาทศรถเป็นทัพหน้าออกเดินทางไปรับไพร่พลทหารล้านนาที่เมืองฝาง (อำเภอฝาง เชียงใหม่)
หลังจากนั้นกองทัพหลวงจึงกรีฑาทัพออกจากเมืองเชียงใหม่ไปยัง เมืองนายและกรุงอังวะ
ครั้นกองทัพหลวงเดินทัพอยู่ระหว่างเมืองเชียงใหม่กับแม่น้ำสาละวิน ครั้นถึง เมืองหลวง หรือเมืองห้างหลวง
หรือเมืองห่างหลวง หรือเมืองหางหลวง
อันเป็นเมืองขึ้นของเมืองเชียงใหม่และเป็นเมืองอยู่ชายพระราชอาณาเขตในสมัยนั้น
เมื่อปลายเดือน
๕ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๑๔๘ ได้เสด็จฯ ประทับแรมอยู่
ณ ตำบลทุ่งดอนแก้ว (ขณะที่กองทัพสมเด็จพระเอกาทศรถอยู่ที่เมืองฝางหรืออำเภอฝาง
เชียงใหม่) เกิดประชวรเป็นหัวระลอกขึ้น(บ้างว่าถูกตัวสัตว์พวกแมลงมีพิษต่อย)
ที่พระพักตร์แล้วเลยเป็นบาดพิษจนเสด็จสวรรคต ณ เมืองห้างหลวง หรือ
เมืองหางวันจันทร์ เดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำ พ.ศ. ๒๑๔๘ เรื่องวันสวรรคตนี้มีรายละเอียดกล่าวต่างกัน
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวว่า เสด็จสวรรคตวันจันทร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน
๖ เพลาชายแล้ว ๒ บาท ปีมะเส็ง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์คำนวณแล้วตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน
๒๑๔๘ ในหนังสือ A History
of Siam ของ W.A.R. Wood กล่าวว่าสวรรคตวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ค.ศ.
๑๖๐๕ (พ.ศ. ๒๑๔๘) พระชันษาได้ ๕๐ ปี
เสวยราชสมบัติได้ ๑๕ ปี
พระราชกรณียกิจ
พ.ศ. 2113 เสด็จออกร่วมรบกับทหารโดยขับไล่กองทัพเขมรได้สำเร็จ
พ.ศ. 2114 ได้รับสถาปนาให้ปกครองเมืองพิษณุโลก เมื่อพระชนมายุ ๑๖ พรรษา
พ.ศ. 2117 เสด็จไปรบที่เวียงจันทน์ เผอิญทรงประชวรเป็นไข้ทรพิษจึงเสด็จกลับ
พ.ศ. 2121 ทรงทำสงครามขับไล่พระยาจีนจันตุออกไปจากกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 2127 ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง และกวาดต้อนคนไทยกลับพระนคร
พ.ศ. 2127-พ.ศ. 2130 พม่ายกกองทัพมาตีไทยถึง ๔ ครั้ง แต่ถูกไทยตีแตกพ่ายกลับไป
พ.ศ. 2133 ทรงเสด็จครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยาเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา
พ.ศ. 2135 ทรงทำสงครามยุทธหัตถี จนมังกะยอชวา สิ้นพระชนม์
พ.ศ. 2136 ทรงยกกองทัพไปตีเขมรและจับพระยาละแวกทำพิธีปฐมกรรม
พ.ศ. 2138 และ พ.ศ. 2141 ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงหงสาวดี ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒
พ.ศ. 2148 ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงอังวะ โดยยกทัพหลวง ๑๐๐,๐๐๐ นาย ออกจากอยุธยา ไปทางเมืองเชียงใหม่ และแรมทัพในเชียงใหม่ ๑ เดือน เพื่อรอการระดมทหารล้านนา
เข้าสมทบอีก ๑๐๐,๐๐๐ คนเมื่อยกทัพหลวงออกจากเมืองเชียงใหม่ มุ่งหน้าไปยัง เมืองนาย ครั้นกรีฑาทัพช่วงระหว่างเมืองเชียงใหม่กับแม่น้ำสาละวิน และไปถึงเมืองหลวง หรือเมืองห้าง
หลวง หรือเมืองห่างหลวง หรือเมืองหางหลวง ก็ทรงพระประชวรโดยเร็วพลัน เป็นหัวระลอกขึ้นที่พระพักตร์ และเสด็จสวรรคต ณ เมืองหลวง ตำบลทุ่งดอนแก้ว ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำ
เดือน ๖ ปีมะเส็ง ซึ่งตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๑๔๘ พระชนมายุ ๕๐ พรรษา ครองราชย์สมบัติได้ ๑๕ ปี
พ.ศ. 2113 เสด็จออกร่วมรบกับทหารโดยขับไล่กองทัพเขมรได้สำเร็จ
พ.ศ. 2114 ได้รับสถาปนาให้ปกครองเมืองพิษณุโลก เมื่อพระชนมายุ ๑๖ พรรษา
พ.ศ. 2117 เสด็จไปรบที่เวียงจันทน์ เผอิญทรงประชวรเป็นไข้ทรพิษจึงเสด็จกลับ
พ.ศ. 2121 ทรงทำสงครามขับไล่พระยาจีนจันตุออกไปจากกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 2127 ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง และกวาดต้อนคนไทยกลับพระนคร
พ.ศ. 2127-พ.ศ. 2130 พม่ายกกองทัพมาตีไทยถึง ๔ ครั้ง แต่ถูกไทยตีแตกพ่ายกลับไป
พ.ศ. 2133 ทรงเสด็จครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยาเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา
พ.ศ. 2135 ทรงทำสงครามยุทธหัตถี จนมังกะยอชวา สิ้นพระชนม์
พ.ศ. 2136 ทรงยกกองทัพไปตีเขมรและจับพระยาละแวกทำพิธีปฐมกรรม
พ.ศ. 2138 และ พ.ศ. 2141 ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงหงสาวดี ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒
พ.ศ. 2148 ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงอังวะ โดยยกทัพหลวง ๑๐๐,๐๐๐ นาย ออกจากอยุธยา ไปทางเมืองเชียงใหม่ และแรมทัพในเชียงใหม่ ๑ เดือน เพื่อรอการระดมทหารล้านนา
เข้าสมทบอีก ๑๐๐,๐๐๐ คนเมื่อยกทัพหลวงออกจากเมืองเชียงใหม่ มุ่งหน้าไปยัง เมืองนาย ครั้นกรีฑาทัพช่วงระหว่างเมืองเชียงใหม่กับแม่น้ำสาละวิน และไปถึงเมืองหลวง หรือเมืองห้าง
หลวง หรือเมืองห่างหลวง หรือเมืองหางหลวง ก็ทรงพระประชวรโดยเร็วพลัน เป็นหัวระลอกขึ้นที่พระพักตร์ และเสด็จสวรรคต ณ เมืองหลวง ตำบลทุ่งดอนแก้ว ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำ
เดือน ๖ ปีมะเส็ง ซึ่งตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๑๔๘ พระชนมายุ ๕๐ พรรษา ครองราชย์สมบัติได้ ๑๕ ปี
ขอบคุณข้อมูลจาก
ขอบคุณรูปภาพจาก
สนใจเรื่องเดียวกันเลย เนื้อหาละเอีดดีมากเลยค่ะ
ตอบลบ